ย้อนกลับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดหนองบัวลำภู ถ้ำมึ้ม ที่ตั้งบ้านดงบาก ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอโนนสัง เดิมอยู่ในจังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันอยู่ในจังหวัด หนองบัวลำภูพิกัดทางภูมิศาสตร์เส้นรุ้งที่ 16o 54′ 32″ เหนือ เส้นแวงที่ 102o 29′ 00″ ตะวันออก พิกัดกริดที่ 48 QTE 323710 ระวางที่ 5442 I สถานที่ตั้ง สภาพที่ตั้งอยู่บนภูเก้า ห่างจากถ้ำอาจารย์สิม ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 150 เมตรการค้นพบไม่พบหลักฐานทางโบราณคดีไม่พบลักษณะของถํ้าและภาพเขียนสีก้อนหินขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 100 เมตร ตอนกลางของก้อนหินด้านทิศตะวันออก มีหลืบหินเว้าลึกเข้าไปในก้อนหินลึกประมาณ 4 เมตร กว้างประมาณ 8 เมตร สูงจากพื้นหินประมาณ 2.5 เมตร ถ้ำสุวรรณคูหา สภาพที่ตั้ง ก้อนหินขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 100 เมตร ตอนกลางของก้อนหินด้านทิศตะวันออก มีหลืบหินเว้าลึกเข้าไปในก้อนหินลึกประมาณ 4 เมตร กว้างประมาณ 8 เมตร สูงจากพื้นหินประมาณ 2.5 เมตรพบภาพปลา 3 ตัว ขวาน 11 ภาพ แม่พิมพ์ขวาน (สำริดหรือเหล็ก) 1 คู่ หน้าไม้ 1 ภาพหัวลูกศร 12 ภาพ และภาพสลักเป็นสัญลักษณ์เช่น เส้นคู่ขนานรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม กากบาท หยักฟันปลา เป็นต้นภาพมือขวา สีแดง ทำโดยวิธีทาบ และมีการเซาะร่องเป็นเส้น 2 เส้นกลางฝ่ามือ และมีภาพลายเส้นสีแดงคล้ำ ประกอบกันเป็นรูปทรงเรขาคณิตแบบต่างๆ เส้นคู่ขนาน ลายบั้ง เส้นโค้งเส้นคด ตาราง กากบาท หยักฟันปลา นอกจากนี้ยังมีการสลักทับบนภาพเขียนสีที่ระบายสีทึบด้วยเทคนิคในการเขียนภาพที่ถ้ำมึ้มนี้ น่าจะใช้พู่กันที่มีขนาดเส้นเล็ก สังเกตได้จากน้ำหนักการลงสีที่เสมอกัน พู่กันอุ้มเนื้อสีได้มาก เนื้อสีไหลซึมเข้าตามรูพรุนได้ดี ส่วนการแกะสลักคงจะใช้วัตถุที่มีเนื้อแข็ง อาจเป็นโลหะปลายแหลมเซาะเป็นร่อง อาจขัดถูทำให้ร่องนั้นมีปลายแหลมทั้งสองข้าง น้ำหนักมือกดลงตรงส่วนกลางของร่อง ทำให้กว้างและลึกกว่าส่วนปลาย และภาพที่ได้ออกมาจึงมีมุมต่อที่สนิท เช่น รูปสามเหลี่ยม เป็นต้น การที่รู้จักเลือกผิวหิน ลักษณะของเส้น ความจงใจในการสร้างภาพให้เป็นรูปร่างต่างๆ ภาพสัญลักษณ์ ภาพเขียนสีที่อยู่ร่วมกับภาพสลัก ทั้งหมดย่อมมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง และภาพทั้งหมดทำขึ้นพร้อมๆกันในคราวเดียวกัน แหล่งถ้ำมึ้มนี้เป็นแหล่งแรกและแหล่งเดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีการแกะสลักขนาดใหญ่ และจากลักษณะของภาพ ภาพเหล่านี้สร้างขึ้นในช่วงยุคโลหะช่วงใดช่วงหนึ่ง