ภาคตะวันตก
จังหวัดกาญจนบุรี
ถ้ำผาแดง
ที่ตั้ง
หมู่ 3 บ้านโป่งหวาย ตำบลด่านแม่แฉลบ อำเภอศรีสวัสดิ์
พิกัดทางภูมิศาสตร์
เส้นรุ้งที่ 14o 34′ 45″ เหนือ เส้นแวงที่ 99o 08′ 25″ ตะวันออก พิกัดกริดที่ 47 PNS 153135 ระวางที่ 4838 III
สถานที่ตั้ง
สภาพที่ตั้ง
ภูเขาหินปูนที่เรียกกันว่า “เขาแดง ” ซึ่งเป็นภูเขาลูกเดียวในอำเภอศรีสวัสดิ์
การค้นพบ
ครูด่วน ถ้ำทอง อดีตครูโรงเรียนประชาบาลในจังหวัดกาญจนบุรี เป็นผู้ไปค้นหา ถ้ำตามคำบอกเล่าของชาวบ้าน และแจ้งให้รองศาสตราจารย์ปรีชา กาญจนาคม คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ไปสำรวจในปี พ.ศ. 2531
หลักฐานทางโบราณคดี
ไม่พบ
ลักษณะของถํ้าและภาพเขียนสี
เป็นหน้าผาด้านทิศตะวันตกของเขาแดง “ผาเขาแดง” สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 450 เมตร ทางขึ้นลาดชัน
ประมาณ 40 องศา
ตลอดแนวหน้าผายาว 60 เมตร ปรากฎภาพเขียนสีเป็นกลุ่มๆเป็นระยะๆ เป็นภาพคน สัตว์และสิ่งของ เขียนด้วยสีแดงคล้ำแบบเงาทึบ (silhouette) และแบบเค้าโครงรอบนอก(outline)
สภาพที่ตั้ง
ภาพแสดงอาการเคลื่อนไหวบอกเล่าเรื่องราวด้วยภาพเหล่านั้น กลุ่มภาพที่เป็นจุดเด่นสะดุดตาที่สุด มีความชัดเจน และภาพแสดงเรื่องราวสัมพันธ์กันมากที่สุด อยู่ในช่วง 50 – 60 เมตร ทางซ้ายมือของหน้าผา บางคนอาจกำลังจูงหรือลากวัวหรือควาย
ภาพคนแต่ละคนมีอาการเคลื่อนไหวต่างๆ กางขา ยกแขน คล้ายเต้นรำ บางคนก็นั่ง บางคนก็ยืน ภาพคนยังบ่งบอกเพศ ด้วยการแสดงหน้าอกของผู้หญิงอีกด้วย ภาพคนที่สูงใหญ่ที่สุดสูงประมาณ 60 ซม. ภาพเหล่านี้เขียนให้เห็นถึงลีลาท่าทางที่เป็นธรรมชาติมาก
ปรากฎภาพคนเท่าที่เห็นชัดเจนประมาณ 20 คน ประดับตกแต่งบนร่างกาย (อาจนุ่งผ้า) ศีรษะและไหล่ บางคนถือวัตถุบางอย่าง รูปร่างอาจเป็นน้ำเต้าใส่น้ำ หรือน้ำเต้าที่เป็นเครื่องดนตรี “พิณน้ำเต้า”
ภาพเขียนสีที่ปรากฎให้เห็นบนผาแดงนี้ น่าจะเป็นผลงานที่สร้างขึ้นเพื่อบ่งชี้ถึงการพยายามเล่าเรื่องเหตุการณ์หรือพิธีกรรมแห่งความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งกลุ่มคนเจ้าของภาพได้ร่วมกันสนุกสนาน อาจมีการร้องรำทำเพลงด้วยเครื่องดนตรีรูปน้ำเต้า และเต้นรำร่วมกันด้วยความเคารพบูชาในสิ่งที่มีความเชื่อร่วมกัน ดังนั้นชุมชนที่วาดภาพเหล่านี้คงมีชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์ และทำการเกษตรกรรมเมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว และใช้สถานที่ถ้ำผาแดงนี้บอกเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นที่นั่นนั่นเอง