ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดอุดรธานี

ถ้ำพระนาหลวง

ถ้ำพระนาหลวง 1, 2, 3,4 และ 5

ที่ตั้ง

บ้านนาหลวง ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ

พิกัดทางภูมิศาสตร์

เส้นรุ้งที่ 17o 53′ 00″ เหนือ เส้นแวงที่ 102o 18′ 42″ ตะวันออก พิกัดกริดที่ 48 QTE 153791 ระวางที่ 5444 I

สถานที่ตั้ง 

สภาพที่ตั้ง

อยู่บนยอดภูถ้ำพระ ซึ่งเป็นภูเขาหินทราย บนเทือกเขาภูพานน้อย อยู่ห่างจากบ้านนาหลวงไปทางใต้ ประมาณ 2 กม. บนยอดภูนี้เป็นที่ราบกว้าง ที่มีก้อนหินใหญ่ ตั้งอยู่โดยทั่วไปบนลานเรียบนี้จึงเรียกกันว่า “ป่าหิน” โดยรอบเป็นป่าทึบ ภาพเขียนสีจึงพบตามก้อนหินใหญ่บนลานนี้

การค้นพบ

ไม่พบ

หลักฐานทางโบราณคดี

ไม่พบ

ลักษณะของถํ้าและภาพเขียนสี

อยู่บนยอดภูถ้ำพระ ซึ่งเป็นภูเขาหินทราย บนเทือกเขาภูพานน้อย อยู่ห่างจากบ้านนาหลวงไปทางใต้ ประมาณ 2 กม. บนยอดภูนี้เป็นที่ราบกว้าง ที่มีก้อนหินใหญ่ ตั้งอยู่โดยทั่วไปบนลานเรียบนี้จึงเรียกกันว่า “ป่าหิน” โดยรอบเป็นป่าทึบ ภาพเขียนสีจึงพบตามก้อนหินใหญ่บนลานนี้

สภาพที่ตั้ง

ถ้ำพระนาหลวง 1 ก้อนหินขนาดใหญ่ วางซ้อนทับบนก้อนหินเล็ก 4 ก้อน คล้ายขาโต๊ะ เกิดเป็นเพิงหินโปร่ง ระหว่างก้อนหิน 4 ก้อนนั้น ภาพปรากฎ บนเพดานใต้เพิงหิน ด้านทิศตะวันออก สูงจากพื้นประมาณ 150 ซม. เป็นภาพลายเส้น 3 ภาพ

ภาพกึ่งวงกลมสองวงต่อกัน รอบวงเขียนเป็นเส้นหนาทึบ ภายในวงกลมเขียนเป็นลายก้างปลา ภาพลายเส้นโค้งม้วน (คล้ายตัวเลข 6 ไทย) และปลายเส้นทั้งสอง ระบายเป็นจุดทึบใหญ่ และภาพเส้นโค้งหยักเป็นคลื่น เขียนตามแนวตั้ง (คล้ายงู) บนเส้นโค้งระบายจุดทึบ ทั้งหมดเขียนด้วยสีแดงคล้ำ

ถ้ำพระนาหลวง 2 ก้อนหินสองก้อนวางซ้อนกัน สูงประมาณ 8 เมตร ทำให้เกิดเป็นเพิงหินยื่นออกมา ทางทิศตะวันตก สูงจากพื้นประมาณ 60 ซม. ภาพเขียนปรากฎอยู่บนเพดานใต้เพิงหินนี้เป็นภาพลายเส้นเล็กๆ ลายจุดไข่ปลา และเส้นทึบ เขียนด้วยสีแดงคล้ำ

ถ้ำพระนาหลวง 3 ก้อนหินใหญ่ซ้อนอยู่บนก้อนหิน 3 ก้อน มีเพิงหินด้านทิศใต้ซึ่งภาพเขียนปรากฎอยู่บนผนังหินด้านนี้ ภาพเขียนด้วยสีแดงคล้ำ เป็นลายเส้นหยักคู่ขนาน และเส้นทึบ

ถ้ำพระนาหลวง 4 ก้อนหินใหญ่สองก้อน วางซ้อนกันคล้ายดอกเห็ด ทำให้เกิดเพิงหินด้านทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ภาพปรากฎบนผนังด้านทิศตะวันตก 6 ภาพเป็นภาพลายเส้นระบายสีทึบ คล้ายภาพสัตว์มีเขา มีหาง และลายเส้นโค้ง หักมุม ที่หารูปร่างไม่ได้ เขียนด้วยสีแดง (ส่วนเพิงหินด้านทิศตะวันออกจำหลักเป็นพระพุทธรูป)

ถ้ำพระนาหลวง 5 ก้อนหินขนาดใหญ่ยาวประมาณ 20 เมตรตั้งอยู่บนโขดหิน จึงเกิดเป็นเพิงหิน ยื่นออกมาด้านทิศใต้ ภาพเขียนปรากฎอยู่บนเพดานใต้เพิงหินด้านนี้ เป็นลายเส้นเล็กๆ เขียนด้วยสีแดง

ภาพเขียนสีที่ถ้ำพระนาหลวงทั้ง 5 แห่งนี้ แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการวาดของผู้เขียน ด้วยการเขียนเส้นรอบนอกก่อนระบายสีทึบ ภาพมีจังหวะช่องไฟถี่ และลายจุดไข่ปลาก็เกิดจากการตั้งใจจุดลงไปภายในกรอบภาพ ดังนั้นภาพลายเส้นเหล่านี้ น่าจะมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่า จะเขียนเล่นเฉยๆ โดยไม่ตั้งใจ และคาดว่าภาพทั้งหมดเขียนขึ้นในระยะเวลาที่ต่างกันด้วย

Scroll to Top