ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดอุบลราชธานี

ถ้ำลายมือ

ที่ตั้ง

บ้านปากลา ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม

พิกัดทางภูมิศาสตร์

เส้นรุ้งที่ 15o 37’32” เหนือ เส้นแวงที่ 105o 38′ 30″ ตะวันออก พิกัดกริดที่ 1501SND 48-3

สถานที่ตั้ง 

สภาพที่ตั้ง

แนวหน้าผาหินทรายที่เชื่อมต่อจากเทือกเขาภูพาน ขนานกับลำแม่น้ำโขง อยู่ในแนวเทือกเขาเดียวกับภูโลง ภูสะมุย และภูจันทร์แดง อยู่ห่างจากหมู่บ้านปากลาไปทางทิศตะวันตกประมาณ 1กม.

เป็นแนวหน้าผายาวประมาณ 50 เมตร สูงประมาณ 10 เมตร

การค้นพบ

ไม่พบ

หลักฐานทางโบราณคดี

พบเครื่องมือหินกรวดแม่น้ำทำจากหินแกรนิต กองไฟและเปลือกหอย เศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ และเศษเครื่องสังคโลกลายดำบนพื้นขาว (อยุธยา)

ลักษณะของถํ้าและภาพเขียนสี

เป็นแนวหน้าผายาวประมาณ 50 เมตร สูงประมาณ 10 เมตร

ภาพปรากฎอยู่ช่วงกลางของหน้าผาตั้งแต่พื้นจนสูงถึงประมาณ 5.6 เมตร ภาพแทบทั้งหมดเป็นภาพมือมีจำนวนประมาณ 170 มือ ภาพซ้อนทับกันเป็นจำนวนมาก

มีภาพลายเส้นร่วมอยู่ด้วยเพียง 4 ภาพ เท่านั้น คือลายเส้นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีเส้นแบ่งครึ่งด้านทั้งสี่มาตัดกัน 2 ภาพ ลายเส้นคู่ และลายก้านขด ภาพทั้งหมดใช้สีแดงคล้ำ

ภาพมือเป็นมือผู้ใหญ่ มักจะทำเป็นคู่ๆ มือซ้ายกับมือขวาเรียงกันไป มีวิธีทำ 4 แบบ แบบทาบ พบมากที่สุดถึง 164 มือแบบพ่น พบเพียง 4 มือ แบบ เขียนเส้นรอบมือที่วางทาบบนผนัง แล้วลากเส้นโค้งจากโคนนิ้วแต่ละนิ้ว ขนานกัน มากลางอุ้งมือพบ 2 มือซ้าย-ขวา

แบบสุดท้ายพบเพียงมือเดียวข้างซ้าย ทำเป็นแบบพิเศษ นำดินหรือขี้ผึ้งติดบนผิวหิน เป็นรูปคล้ายกระดูกนิ้วมือ ทั้ง 5 และเส้นรอบฝ่ามือ แล้วจึงพ่นสีทับลงไป จากนั้นดึงดินหรือเส้นขี้ผึ้งออก

กลุ่มภาพมือและภาพลายเส้นอาจเป็นสัญลักษณ์ น่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างแน่นอนแต่เป็นไปอย่างไรยังไม่ทราบแน่ชัดจากการที่ภาพมือทำซ้อนทับกันมากมาย คงจะเป็นการกระทำที่ดำเนินการสืบทอดต่อเนื่องกันตลอดมาหลายครั้ง อาจเป็นในระยะเวลาใกล้เคียงกันหรือต่างกันก็ได้

Scroll to Top