ภาคเหนือ
จังหวัดเชียงใหม่

ผาคันนา

ที่ตั้ง 

น้ำตกแม่กลาง ดอยหัวช้าง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

พิกัดทางภูมิศาสตร์ 

เส้นรุ้งที่ 18o 29′ 52″ เหนือ เส้นแวงที่ 98o 40′ 20″ ตะวันออก พิกัดกริดที่ 47 QMA 654451 ระวางที่ 4745 IV

สถานที่ตั้ง 

สภาพที่ตั้ง

ห่างจาก จ.เชียงใหม่ ทางใต้ 65 กม. ห่างจาก อ.จอมทองไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 8 กม. ตามเส้นทางจอมทอง – ดอยอินทนนท์ ไปถึงศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวน้ำตกแม่กลาง เดินเท้าเข้าไปตามเส้นทางท่องเที่ยวน้ำตกแม่กลางประมาณ 200 เมตร เป็นแนวสันเขาที่หันหน้าสู่ลำน้ำแม่กลาง

การค้นพบ

สำรวจโดยโครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคเหนือ) กรมศิลปากร ในปี พ.ศ. 2530และสำรวจอีกครั้งใน ปี พ.ศ. 2542 โดยสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 6 เชียงใหม่

หลักฐานทางโบราณคดี

พบเศษภาชนะดินเผาเนื้อดินลายเชือกทาบและแบบผิวเรียบ จำนวนเล็กน้อย

ลักษณะของถํ้าและภาพเขียนสี

ผาคันนาเป็นหน้าผาชั้นบนของน้ำตกแม่กลาง เป็นเพิงหิน Granodiorite หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ยาว31 เมตร สูง 12 เมตร ภาพเขียนสีมีคราบหินปูนเกาะจับแน่นอยู่ บริเวณที่พบภาพเขียนสีสูงจากพื้นประมาณ 1.5 -5.0 เมตร เขียนด้วยสีแดง ประกอบด้วยภาพ 3 ประเภท คือ ภาพคน 1 ภาพ ภาพสัตว์คล้ายช้าง 1 ภาพ และภาพสัญลักษณ์เป็นลายเส้นรูปต่าง ๆ

Scroll to Top