ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดนครราชสีมา

เขาจันทร์งาม

ที่ตั้ง 

บ้านเลิศสวัสดิ์ ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว

พิกัดทางภูมิศาสตร์ 

เส้นรุ้งที่ 14o 48′ 50″ เหนือ เส้นแวงที่ 101o 34′ 15″ ตะวันออก ระวางที่ 5338 IV

สถานที่ตั้ง 

สภาพที่ตั้ง

แหล่งภาพเขียนสีเขาจันทร์งามนี้อยู่ในเขตสำนักสงฆ์เขาจันทร์งาม ซึ่งเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม บริเวณนี้เป็นกลุ่มก้อนหินที่อยู่บนพื้นที่ที่สูงที่สุดกว่าบริเวณใกล้เคียงอื่นๆ

การค้นพบ

เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2520 นายไตรรัตน์ หล้าวงษา นักศึกษาแผนกศิลปกรรม วิทยาลัย

เทคนิค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้เดินทางมาพบภาพเขียนสี แล้วนำไปแจ้งให้อาจารย์ที่วิทยาลัย

ทราบ (อาจารย์อุษา โพธิกนิษฐ์) และเรื่องราวของแหล่งภาพเขียนสีที่เขาจันทร์งามนี้ ก็ได้รับการตี

พิมพ์ เผยแพร่โดยกรมศิลปากร และคณะโบราณคดี

หลักฐานทางโบราณคดี

ไม่พบ

ลักษณะของถํ้าและภาพเขียนสี

ลักษณะเป็นก้อนหินทรายขนาดใหญ่ ที่เรียงตัวซ้อนกัน เป็นแนวขนานกัน ตามแนวตะวันตกเฉียงเหนือ -ตะวัน ออกเฉียงใต้ ทำให้เกิดช่องว่างตรง กลางเป็นลานกว้างภาพปรากฎบน ผนังของเพิงหิน หลืบหินรอบบริเวณ ลานกว้างนั้น

ภาพเขียนส่วนมากเป็นภาพคนมีทั้งชาย หญิง และเด็ก ประมาณ 32 คน มีภาพสัตว์ประกอบอยู่ด้วย 2-3 ตัว อาจเป็นสุนัข นกหรือไก่ ตะกวด? หรือ เม่น? หรือ เสือ? ก็ได้ เขียนด้วยสีแดง แบบระบายสีเงา ทึบ (silhouette) ภาพทั้งหมดแสดงอาการเคลื่อนไหว ภาพเหล่านี้อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 4-5 เมตร เขียนเป็นกลุ่มๆกลุ่มที่เด่นและสำคัญที่สุดอยู่บนผนังเพิงหินด้านทิศตะวันออกมีภาพคนปรากฎอยู่ 14 คน ชาย-หญิง-เด็ก และสุนัข 1 ตัว

ภาพคนมีการประดับตกแต่งร่างกายอาจเป็นขนนกหรือกิ่งไม้หรือผ้า แสดงอาการคล้ายเต้นรำ ยกแขนขยับขา และบางคนกำลังโก่งคัน ธนู ผู้หญิงท้องนั่งคุยกัน

ภาพเหล่านี้ดูมีชีวิตชีวาเหมือนธรรมชาติมากและยังแสดงให้เห็น ถึงความเข้าใจในสรีระ จึงเขียนให้เห็นถึงกล้ามเนื้อน่องและแขน  ที่โป่งพองตามหลักที่เป็นจริง (Cestosomatic style)

นอกจากนี้บนผนังตรงข้ามมีภาพที่น่าสนใจภาพหนึ่ง คล้ายภาพคน สวมหัวสัตว์หรือใส่หน้ากาก ซึ่งอาจจะเป็นหมอผีสวมหัวกวางก็ได้

อย่างไรก็ตามภาพเขียนสีที่เขาจันทร์งามนี้ น่าจะเป็นความต้องการที่จะแสดงให้เห็นถึงสัญลักษณ์ หรือพิธีกรรม อันเนื่องจากความเชื่อในเรื่องความอุดมสมบูรณ์ จึงได้มีการจัดกิจกรรมพิเศษขึ้น และได้ ทำการบันทึกไว้บนผนังหินนั้น ดังนั้นชุมชนนี้คงดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ เลี้ยงสัตว์ และเพาะปลูกด้วย

สภาพที่ตั้ง

ลักษณะเป็นก้อนหินทรายขนาดใหญ่ ที่เรียงตัวซ้อนกัน เป็นแนวขนานกัน ตามแนวตะวันตกเฉียงเหนือ -ตะวัน ออกเฉียงใต้ ทำให้เกิดช่องว่างตรง กลางเป็นลานกว้างภาพปรากฎบน ผนังของเพิงหิน หลืบหินรอบบริเวณ ลานกว้างนั้น

ภาพเขียนส่วนมากเป็นภาพคนมีทั้งชาย หญิง และเด็ก ประมาณ 32 คน มีภาพสัตว์ประกอบอยู่ด้วย 2-3 ตัว อาจเป็นสุนัข นกหรือไก่ ตะกวด? หรือ เม่น? หรือ เสือ? ก็ได้ เขียนด้วยสีแดง แบบระบายสีเงา ทึบ (silhouette) ภาพทั้งหมดแสดงอาการเคลื่อนไหว ภาพเหล่านี้อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 4-5 เมตร เขียนเป็นกลุ่มๆกลุ่มที่เด่นและสำคัญที่สุดอยู่บนผนังเพิงหินด้านทิศตะวันออกมีภาพคนปรากฎอยู่ 14 คน ชาย-หญิง-เด็ก และสุนัข 1 ตัว

ภาพคนมีการประดับตกแต่งร่างกายอาจเป็นขนนกหรือกิ่งไม้หรือผ้า แสดงอาการคล้ายเต้นรำ ยกแขนขยับขา และบางคนกำลังโก่งคัน ธนู ผู้หญิงท้องนั่งคุยกัน

ภาพเหล่านี้ดูมีชีวิตชีวาเหมือนธรรมชาติมากและยังแสดงให้เห็น ถึงความเข้าใจในสรีระ จึงเขียนให้เห็นถึงกล้ามเนื้อน่องและแขน  ที่โป่งพองตามหลักที่เป็นจริง (Cestosomatic style)

นอกจากนี้บนผนังตรงข้ามมีภาพที่น่าสนใจภาพหนึ่ง คล้ายภาพคน สวมหัวสัตว์หรือใส่หน้ากาก ซึ่งอาจจะเป็นหมอผีสวมหัวกวางก็ได้

อย่างไรก็ตามภาพเขียนสีที่เขาจันทร์งามนี้ น่าจะเป็นความต้องการที่จะแสดงให้เห็นถึงสัญลักษณ์ หรือพิธีกรรม อันเนื่องจากความเชื่อในเรื่องความอุดมสมบูรณ์ จึงได้มีการจัดกิจกรรมพิเศษขึ้น และได้ ทำการบันทึกไว้บนผนังหินนั้น ดังนั้นชุมชนนี้คงดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ เลี้ยงสัตว์ และเพาะปลูกด้วย

Scroll to Top