ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดมุกดาหาร
ถ้ำฝ่ามือแดง
ที่ตั้ง
บ้านส้มป่อย ตำบลนาสีนวล อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
พิกัดทางภูมิศาสตร์
เส้นรุ้งที่ 16 o27′ 13″ เหนือ เส้นแวงที่ 104o 46′ 20″ ตะวันออก พิกัดกริดที่ 48 QVD 758191 ระวางที่ 5941 I
สถานที่ตั้ง
สภาพที่ตั้ง
อยู่ในบริเวณภูอ่างบก (ภูจอมนาง หรือ เขาจอมนาง) ภูเขาหินทรายบนเทือกเขาภูพาน ห่างจากหมู่บ้านส้มป่อยที่อยู่ติดกับแม่น้ำโขง ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 4 กม. ลักษณะเป็นหน้าผา ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของภูยาวประมาณ 61 เมตร ภาพเขียนสีอยู่บนผนังหินของหน้าผา ใต้ลานหินของยอดภูนี้จนสุดหน้าผา ภาพอยู่สูงจากพื้น ประมาณ 5 เมตร
การค้นพบ
แหล่งภาพเขียนสีถ้ำฝ่ามือแดงแห่งนี้ ได้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่เป็นแห่งแรกของภาคอีสาน โดยนาย เอ. เอฟ. จี. คาร์ (A. F. G. Kerr) ในวารสารสยามสมาคมเมื่อปี พ.ศ. 2467 และต่อมาในปี พ.ศ. 2525 กรมศิลปากรได้ดำเนินการสำรวจเก็บข้อมูล
หลักฐานทางโบราณคดี
ไม่พบ
ลักษณะของถํ้าและภาพเขียนสี
ภาพคน ปรากฎมีประมาณ 23 คน เขียนแบบระบายเงาทึบ (silhouette) ลักษณะคล้ายของจริง อยู่ ในอาการเคลื่อนไหว อาจมีการตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับหรือเครื่องนุ่งห่ม มีลักษณะพิเศษโดยเฉพาะส่วนศีรษะที่โตกว่าลำตัวคล้ายคนโพกหัว เขียนด้วยสีแดงคล้ำ สีเหลืองและสีขาว เขียนแบบโดดๆหรือเป็นกลุ่ม
ภาพมือ พบมือคนจำนวนทั้งหมด 9 มือ (กลุ่มใหญ่ประกอบด้วยมือ 7 มือ) ทำโดยวิธีพ่น (stencil) 4 มือ และแบบทาบ (imprint) 5 มือ ทั้งหมดเป็นมือข้างขวา เป็นมือข้างซ้ายเพียงมือเดียว สีแดงคล้ำ
ภาพสัตว์ พบภาพสัตว์ เพียง 3 ภาพ เขียนแบบระบายเงาทึบ
ภาพวัตถุ และภาพสัญลักษณ์ เป็นลายเส้นทึบ ไม่แน่ชัดว่ารูปอะไร