ภาคใต้
จังหวัดกระบี่

แหลมไฟไหม้

ที่ตั้ง

บ้านไสโต๊ะดำ ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก

พิกัดทางภูมิศาสตร์

เส้นรุ้งที่ 08o 17′ 43″ เหนือ เส้นแวงที่ 98o 37′ 40″ ตะวันออก พิกัดกริดที่ 47 PMK 591167 ระวางที่ 4725 IV

สถานที่ตั้ง 

สภาพที่ตั้ง

ภูเขาหินปูนลูกเล็กๆ ที่ยื่นออกไปในทะเล บริเวณด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเขาใหญ่ปากช่องลาด เป็นแหลมในอ่าวพังงา ห่างจากถ้ำผีหัวโตไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 11.4 กม.

การค้นพบ

นายชอง บูลเบต์ (Jean Boulbet) ชาวฝรั่งเศส ผู้สนใจศึกษาภาพเขียนสีตามถ้ำได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2528 และต่อมากรมศิลปากรจึงได้ไปทำการสำรวจและเก็บข้อมูลในปีเดียวกัน

หลักฐานทางโบราณคดี

ไม่พบ

ลักษณะของถํ้าและภาพเขียนสี

ภาพเขียนอยู่บนเพิงผาด้านทิศเหนือของแหลมหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเป็นเพิงหินที่ถูกน้ำกัดเซาะเข้าไปเมื่อครั้งที่น้ำท่วมถึง ปัจจุบันสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 3 – 5 เมตร

ภาพเขียนปรากฎตลอดแนวยาวของเพิงผาประมาณ 5 เมตร เขียนด้วยสีแดง แต่ส่วนมากภาพค่อนข้างลบเลือน มองไม่เห็นรายละเอียดและรูปร่าง ภาพเหล่านั้นเขียนในแบบระบายเงาทึบ (silhouette) และแบบโครงร่างรอบนอก (outline) ประกอบด้วยภาพคน ภาพสัตว์ ประเภทปลาและนก และภาพลายเรขาคณิต นอกจากนี้มีภาพเขียนด้วยสีดำซ้อนทับบางแห่งแต่ก็ไม่ชัดเจนและเป็นภาพที่เขียนขึ้นในภายหลัง

ภาพที่เด่นชัดเจนของแหลมไฟไหม้นี้คือภาพคนระบายสีแดงทึบ มองดูคล้ายภาพคน 2 คน ยืนติดกัน สูงประมาณ 50 ซม. มีแขน 2 ข้าง ขา 4 ขา และมีนิ้วมือนิ้วเท้าข้างละ 3 นิ้วอย่างไรก็ตามภาพเขียนสีที่แหลมไฟไหม้นี้ก็บอกเรื่องราวของผู้เขียนว่าคงจะเป็นพวกที่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการจับสัตว์น้ำเป็นหลัก เดินทางร่อนเร่อยู่ในทะเล ใช้เพิงผาหินนี้เป็นที่พักชั่วคราวภาพที่ วาดขึ้นก็อาจสร้างขึ้นจากสิ่งที่พวกตนพบเห็นเสมออาจมีความเชื่อแอบแฝงอยู่ในภาพเหล่านั้นด้วยก็ได้

Scroll to Top