ย้อนกลับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุดรธานี ถ้ำปูน ที่ตั้งบ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือพิกัดทางภูมิศาสตร์เส้นรุ้งที่ 17o 43′ 02″ เหนือ เส้นแวงที่ 102o 22′ 20″ตะวันออก พิกัดกริดที่ 48 QTE 213607 ระวางที่ 5444 II สถานที่ตั้ง สภาพที่ตั้งอยู่ในเขตวัดพระพุทธบาทบัวบก ห่างจากเพิงหินข้างถ้ำพระยานาค ไปทางทิศใต้ประมาณ 200 เมตร และห่างจากองค์พระพุทธบาทบัวบก ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 150 เมตร ถ้ำปูน เป็นเพิงหินที่เกิดจากก้อนหินซ้อนกัน จึงมีหลืบหินอยู่ใต้เพิงหินการค้นพบไม่พบหลักฐานทางโบราณคดีไม่พบลักษณะของถํ้าและภาพเขียนสีภาพปรากฎอยู่ในเพิงหิน 2 กลุ่ม ด้านทิศใต้ และ บนเพดาน ภาพเหล่านี้เขียนด้วยสีแดงต่อเนื่องกัน แต่ได้ลบเลือนมาก เป็นลายเส้นรูปร่างต่างๆ เส้นคู่ขนาน เส้นคด ลายฟันเลื่อย รูปสามเหลี่ยม รูปตัววี (V) รูปกากบาท รูปตัววาย (Y) สภาพที่ตั้ง สังเกตได้ว่าที่ถ้ำปูนนี้ ผู้เขียนมีความตั้งใจที่จะเขียนภาพขึ้น เพราะมีการเลือกพื้นที่ที่เรียบสำหรับเขียนภาพ และเขียนเฉพาะบนผิวหินที่มีสีชมพู และภาพก็ถูกเขียนใต้หลืบหิน สูงจากพื้นประมาณ 70 ซม.ภาพเขียนอย่างต่อเนื่องแต่ลบเลือนทำให้ไม่สามารถแปลความหมายได้ อย่างไรก็ตามด้วยลักษณะของภาพที่แสดงถึงความตั้งใจวาด ภาพเหล่านั้นย่อมมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือเพื่อเป็นงานศิลปะที่สวยงามก็ได้