ย้อนกลับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี ถ้ำลายมือ ที่ตั้งบ้านปากลา ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียมพิกัดทางภูมิศาสตร์เส้นรุ้งที่ 15o 37’32” เหนือ เส้นแวงที่ 105o 38′ 30″ ตะวันออก พิกัดกริดที่ 1501SND 48-3 สถานที่ตั้ง สภาพที่ตั้งแนวหน้าผาหินทรายที่เชื่อมต่อจากเทือกเขาภูพาน ขนานกับลำแม่น้ำโขง อยู่ในแนวเทือกเขาเดียวกับภูโลง ภูสะมุย และภูจันทร์แดง อยู่ห่างจากหมู่บ้านปากลาไปทางทิศตะวันตกประมาณ 1กม.เป็นแนวหน้าผายาวประมาณ 50 เมตร สูงประมาณ 10 เมตรการค้นพบไม่พบหลักฐานทางโบราณคดีพบเครื่องมือหินกรวดแม่น้ำทำจากหินแกรนิต กองไฟและเปลือกหอย เศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ และเศษเครื่องสังคโลกลายดำบนพื้นขาว (อยุธยา)ลักษณะของถํ้าและภาพเขียนสี เป็นแนวหน้าผายาวประมาณ 50 เมตร สูงประมาณ 10 เมตรภาพปรากฎอยู่ช่วงกลางของหน้าผาตั้งแต่พื้นจนสูงถึงประมาณ 5.6 เมตร ภาพแทบทั้งหมดเป็นภาพมือมีจำนวนประมาณ 170 มือ ภาพซ้อนทับกันเป็นจำนวนมาก มีภาพลายเส้นร่วมอยู่ด้วยเพียง 4 ภาพ เท่านั้น คือลายเส้นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีเส้นแบ่งครึ่งด้านทั้งสี่มาตัดกัน 2 ภาพ ลายเส้นคู่ และลายก้านขด ภาพทั้งหมดใช้สีแดงคล้ำ ภาพมือเป็นมือผู้ใหญ่ มักจะทำเป็นคู่ๆ มือซ้ายกับมือขวาเรียงกันไป มีวิธีทำ 4 แบบ แบบทาบ พบมากที่สุดถึง 164 มือแบบพ่น พบเพียง 4 มือ แบบ เขียนเส้นรอบมือที่วางทาบบนผนัง แล้วลากเส้นโค้งจากโคนนิ้วแต่ละนิ้ว ขนานกัน มากลางอุ้งมือพบ 2 มือซ้าย-ขวาแบบสุดท้ายพบเพียงมือเดียวข้างซ้าย ทำเป็นแบบพิเศษ นำดินหรือขี้ผึ้งติดบนผิวหิน เป็นรูปคล้ายกระดูกนิ้วมือ ทั้ง 5 และเส้นรอบฝ่ามือ แล้วจึงพ่นสีทับลงไป จากนั้นดึงดินหรือเส้นขี้ผึ้งออกกลุ่มภาพมือและภาพลายเส้นอาจเป็นสัญลักษณ์ น่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างแน่นอนแต่เป็นไปอย่างไรยังไม่ทราบแน่ชัดจากการที่ภาพมือทำซ้อนทับกันมากมาย คงจะเป็นการกระทำที่ดำเนินการสืบทอดต่อเนื่องกันตลอดมาหลายครั้ง อาจเป็นในระยะเวลาใกล้เคียงกันหรือต่างกันก็ได้